"สัจจวาจา นั้นเป็นรากฐานของการทำงาน หรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งามที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จ "สัจ" เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ "วาจา" เป็นคำพูดออกมา แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น"
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Big Data เทคโนโลยีสำคัญต่อการพัฒนา Smart City

Big Data เป็นเทคโนโลยีที่เก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ไว้ที่ที่หนึ่ง แล้วใช้อีกเทคโนโลยีผนวกเข้าไปเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล กลั่นและสกัดเอาคุณค่าออกมาจากข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเกินขอบเขตหรือขีดจำกัดของการจัดการข้อมูลแบบเดิมๆ โดยทาง Gartner ได้นิยามความหมายของ Big Data ไว้ด้วย 3V คือ high-volume high-velocity และ high-variety

เมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างมีความอัจฉริยะมากขึ้น นอกจากจะสื่อสารกับมนุษย์แล้ว ยังติดต่อสื่อสารกันเองระหว่างอุปกรณ์บนโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตที่มีความรวดเร็วที่สามารถรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นได้และมีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน เมื่อสิ่งต่างๆ เชื่อมต่อถึงกัน ความสำคัญจะอยู่ที่การนำข้อมูลมหาศาลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามต้องการ ซึ่งจำเป็นต้องผ่านการวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี Big data Analytics เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้

ความจริงแล้วหน่วยงานหลายภาคส่วนได้เริ่มจัดการกับข้อมูลปริมาณมากกันมานานแล้ว โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เมื่อต้องการวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึก จำเป็นต้องนำข้อมูลดิบมาตกผลึกให้เกิดเป็นรูปแบบของข้อมูลที่เกิดประโยชน์ ซึ่งในยุคดิจิทัลทุกวันนี้ นอกจากปริมาณข้อมูลที่มากแล้ว ยังมีความหลากหลายของรูปแบบข้อมูล จากเดิมข้อมูลมีลักษณะรูปแบบที่แน่นอน มีแหล่งที่มาจากระบบภายในหน่วยงานเท่านั้น แต่ปัจจุบันแหล่งข้อมูลไหลมาจากรอบทิศอย่างเช่น สื่อสังคมออนไลน์ blog สาธารณะต่างๆ แหล่งข้อมูลเหล่านี้นับวันยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดข้อมูลใหม่ทุกเสี้ยววินาที เทคโนโลยีใหม่จึงต้องสามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมาก หลากหลายรูปแบบ หลากหลายแหล่งข้อมูล มาประมวลผลได้อย่างรวดเร็วทันความต้องการของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การประมวลผลข้อมูล สิ่งสำคัญต่อการก้าวสู่ Smart City

ทุกวันนี้ เมื่อพูดถึงเมืองอัจฉริยะ เรามักหมายถึงระบบที่ใช้ข้อมูลของผู้อยู่อาศัยในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ติดตั้งเอาไว้รอบเมือง ทุกครั้งที่เราออกไปบนท้องถนนโดยพกสมาร์ทโฟนไปด้วย เราก็ได้สร้างข้อมูลขึ้นมาแล้วแม้ว่าจะไม่ได้กำลังใช้สมาร์ทโฟนนั้นอยู่ เช่น เราเดินทางมาจากไหนและกำลังจะไปที่ไหน ด้วยความเร็วเท่าไร ใช้รถเมล์หรือรถไฟ กำลังรถติดอยู่หรือไม่ โครงสร้างพื้นฐานของเมืองอัจฉริยะจะนำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผล เพื่อที่เมืองจะสามารถจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม เมืองอัจฉริยะก็ยังมีระบบอย่างกล้องวงจรปิด(CCTV) ระบบวิเคราะห์ใบหน้า ระบบอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์ ระบบเหล่านี้สร้างข้อมูลขึ้นมาแม้ว่าเราจะไม่ได้กำลังพกพาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ แค่สัญจรอยู่บนท้องถนนเราก็ป้อนข้อมูลบางอย่างให้กับระบบแล้ว

Phuket Smart City เริ่มนำ Big Data มาใช้พัฒนาเมือง

Phuket Smart City หรือ โครงการส่งเสริมพื้นที่พิเศษสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล ดำเนินโครงการโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีการขับเคลื่อนโครงการตามยุทธศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และพันธมิตรต่างประเทศเพื่อรองรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยนำเทคโนโลยี Big Data มาจัดการข้อมูลเมือง ร่วมกันผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตเป็น Smart City ทั้งด้านการค้าและการลงทุน

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA กล่าวว่า โครงการ Phuket Smart City มีแนวทางการดำเนินงานโครงการชัดเจน โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 Phase ประกอบด้วย

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม