"Imagination is More Important Than Knowledge. Knowledge Is Limited. Imagination Encircles The World - จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้นั้นมีจำกัด แต่จินตนาการมีอยู่ทุกพื้นที่บนโลก"
Albert Einstein(อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์)

สุขภาพตากับเด็กยุคดิจิตอล

ในยุคปัจจุบันที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็ล้วนแล้วแต่เห็นผู้คนก้มหน้าก้มตาอยู่กับจอมือถือหรือแทบเล็ต ไม่เว้นแม้แต่เด็กเล็กๆ หมอจึงมักได้รับคำถามจากคุณพ่อคุณแม่เสมอๆ ว่า การให้ลูกอยู่กับหน้าจอเหล่านี้นานๆ จะส่งผลต่อสายตาอย่างไร บทความนี้ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยจากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อคลายข้อสงสัยและให้คุณพ่อคุณแม่ตระหนักถึงความสำคัญของการถนอมดวงตาของลูกน้อยให้มีสุขภาพดีไปนานๆ

Computer Vision Syndrome(CVS) คืออะไร

CVS คือกลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป เช่น ปวดตา ตาล้า แสบตา ระคายเคืองตา ตาแดงเป็นๆ หายๆ ตามัว ตาแห้ง เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันอาการนี้ไม่ได้พบเฉพาะในผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังพบในเด็กเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เล่นคอมพิวเตอร์มากๆ ทำให้เด็กสายตาสั้นเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่

โดยปกติแล้วเมื่ออายุมากกว่า 18 หรือ 20 ปี สายตาจะหยุดการเปลี่ยนแปลง คือไม่สั้นเพิ่มขึ้น ยกเว้นผู้ที่มีพยาธิสภาพเป็นโรคสายตาสั้นไม่หยุด สายตาจะยังคงสั้นเพิ่มขึ้นได้แม้ว่าอายุจะเกิน 20 ปีไปแล้ว แต่สำหรับในเด็กซึ่งยังมีการเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงของสายตา การใช้คอมพิวเตอร์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องได้ โดยมีการศึกษาที่รายงานปัจจัยที่ทำให้เด็กสายตาสั้นเพิ่มขึ้น ได้แก่

แสงสีฟ้าหรือที่เรียกกันว่า blue light คืออะไร มีผลกับสายตาจริงหรือไม่

แสงตามธรรมชาติหรือแสงอาทิตย์แบ่งประเภทตามความยาวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ แสงอัลตราไวโอเลต(UV) แสงที่ดวงตามองเห็น(visible light) และแสงอินฟราเรด(infrared)

อย่างไรก็ดี แสงสีฟ้าไม่ได้มีอยู่เฉพาะในแสงแดดเท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟในบ้าน ไฟหน้ารถยนต์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือและแทบเล็ต ในปริมาณต่างๆ กันไป ทั้งนี้มีการศึกษาทดลองในหนู โดยการฉายแสงสีฟ้าใส่ตาหนู พบว่าแสงสีฟ้าในปริมาณน้อยๆ ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตา แต่เมื่อเพิ่มปริมาณของแสงสีฟ้าไปจนถึงระดับหนึ่งโดยสัมพันธ์กับเวลาที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์ในจอประสาทตา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้นได้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ถ้าดวงตาได้รับแสงสีฟ้ามากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียได้ เพียงแต่ว่ายังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าปริมาณและระยะเวลาเท่าไรจึงจะก่อปัญหาให้กับมนุษย์ได้

เด็กควรเล่นคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแทบเล็ตนานเท่าไร จึงจะไม่ส่งผลเสียต่อสายตา

จริงๆแล้วผลของคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีเฉพาะเพียงสายตา แต่มีผลต่อเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญกว่าไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านอารมณ์ สังคม และสมาธิ ตามคำแนะนำของสมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบเล่นคอมพิวเตอร์ เนื่องจากไม่มีประโยชน์ในแง่พัฒนาการของเด็ก ส่วนในเด็กที่อายุมากกว่า 2 ขวบแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่จำกัดการใช้คอมพิวเตอร์รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน อย่างที่กล่าวแล้วว่าการใช้ตามองดูสิ่งของที่ใกล้ตลอดเวลาอาจมีผลทำให้เกิดสายตาสั้นได้ รวมทั้งสายตาเมื่อยล้าหรือ CVS ได้ด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงควรจำกัดเวลา เช่น ให้เล่นเพียงแค่ 20-30 นาที แล้วให้หยุดพักสายตา

จะสังเกตอย่างไรว่าลูกมีสายตาผิดปกติ

ถ้าเด็กสายตาสั้น เด็กจะมองไกลไม่ชัด อาจพบว่าเด็กจดการบ้านผิด หรือคุณครูบอกว่าเด็กต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อมองกระดานหรือหยีตาจึงจะมองเห็น เมื่ออยู่บ้านต้องเดินไปใกล้โทรทัศน์หรือก้มลงอ่านหนังสือใกล้ตามากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้ ควรพาลูกมาพบจักษุแพทย์ แต่ในบางครั้งแม้เด็กจะไม่มีอาการก็อาจมีภาวะสายตาผิดปกติ โดยเฉพาะที่ผิดปกติข้างเดียว ซึ่งอาจสัมพันธ์กับโรคสายตาขี้เกียจได้

เด็กควรมารับการตรวจตาตั้งแต่อายุเท่าไร ถ้าไม่มีอาการผิดปกติมาตรวจตาได้หรือไม่ และความถี่ในการตรวจควรเป็นเท่าไร

แนะนำว่าเมื่อเด็กอายุ 3-5 ขวบควรมาตรวจตาครั้งแรกแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ตาม โดยส่วนใหญ่จักษุแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองโรคสายตาขี้เกียจ ซึ่งส่วนมากพบได้ 3-5% และถ้ารักษาได้เร็ว เด็กจะหายเป็นปกติได้ แต่ถ้าตรวจพบได้ช้า การรักษาให้หายขาดอาจเป็นไปไม่ได้เลย สำหรับความถี่ในการตรวจตา หากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ควรตรวจทุก 1-2 ปี แต่ถ้ามีภาวะสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง หรือสายตาขี้เกียจ อาจจะต้องเข้ารับการตรวจถี่กว่าปกติหรือตามที่จักษุแพทย์แนะนำ

การป้องกันการเกิด computer vision syndrome หรืออาการเมื่อยล้าทางตาจากการใช้คอมพิวเตอร์ทำอย่างไร

ข้อแนะนำในการป้องกันการเกิด CVS ทำได้ดังนี้

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม