"การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง และครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย"
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วิธีที่จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น(Sleep Hygiene)

การปรับวิธีคิดและอุปนิสัยเกี่ยวกับการนอนสามารถทำให้การนอนหลับง่ายขึ้นและมีคุณภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การจะทำให้เห็นผลนั้น ต้องทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน และทำด้วยจิตใจที่ผ่อนคลาย ไม่คาดหวังผลการนอนมากเกินไปจนกลายเป็นความเครียด

1. การออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันจะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น

มีผลงานวิจัยมากมายที่ยืนยันว่าการออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยครั้งละ 20-30 นาที หรืออย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ สามารถช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรออกกำลังกายหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน ควรออกกำลังกายให้ห่างจากช่วงเข้านอน อย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพราะการออกกำลังกายใกล้ช่วงเข้านอนมากเกินไปจะยิ่งทำให้ร่างกายตื่นตัว คุณภาพการนอนจะต่ำลง

2. อย่างีบตอนกลางวันหรือตอนเย็น

ควรอดทนรอให้ถึงเวลาเข้านอน เพราะการงีบจะทำให้ร่างกายรู้สึกว่าได้รับการพักผ่อนแล้ว กลางคืนจะยิ่งหลับยากมากขึ้น

3. งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม โกโก้ และแอลกอฮอล์ทุกชนิด

นิโคตินและคาเฟอีนมีผลโดยตรงต่อการนอนไม่หลับ ส่วนแอลกอฮอล์มีผลทำให้ระบบการนอนแย่ลง เช่น ทำให้กรนและมีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับได้

4. การรับประทานอาหารก่อนเข้านอน

อย่ารับประทานอาหารเย็นหรืออาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน ควรเว้นระยะเวลาทานอาหารเย็นกับเวลาก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะการรับประทานอาหารใกล้เวลานอนจะทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักเพื่อย่อยอาหาร ส่งผลให้เกิดการนอนที่ไม่มีคุณภาพ จนนำไปสู่การนอนไม่หลับได้ หากมีอาการหิวจริงๆ ก่อนเข้านอน ควรรับประทานอาหารเบาๆ เท่านั้น เช่น นมอุ่นๆ

5. ไม่ควรทำกิจกรรมที่ทำให้จิตใจได้รับการกระตุ้นก่อนนอน

การดูหนัง ดูกีฬาหรืออ่านหนังสือที่ตื่นเต้น ถกปัญหาหรือคุยเรื่องเครียดๆ ส่งผลให้นอนไม่หลับได้ ดังนั้น หากมีสิ่งที่ต้องทำหรือคิดต่อในวันรุ่งขึ้น ให้หากระดาษ มาจดก่อนเข้านอน อย่าหลับไปพร้อมกับปัญหา เพราะจะทำให้หลับไม่สนิท เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้ร่างกายและจิตใจไม่ผ่อนคลาย

6. พยายามจัดเวลาสำหรับการผ่อนคลายช่วงหนึ่งก่อนเข้านอน

การเข้านอนจะเกิดได้ง่ายขึ้น เมื่อร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย ดังนั้นก่อนเข้านอนควรจัดเวลาสำหรับผ่อนคลายร่างกายและจิตใจให้รู้สึกสงบก่อนเข้านอน อย่างน้อย 20 นาที

7. หากมีปัญหาในการตื่นกลางดึกและหลับต่อยาก

แนะนำว่าไม่ควรดื่มน้ำมากๆ หลังอาหารเย็นและควรเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน

8. ปรับห้องนอนให้เหมาะสม

มีอุณหภูมิที่พอดี มีเครื่องนอนเช่นหมอนหรือผ้าห่มที่สร้างความสบาย นอนในห้องที่ไม่มีเสียงดังรบกวนจนเกินไป ไม่นอนเปิดไฟหรือโทรทัศน์

9. เตียงนอนมีไว้สำหรับนอน

หลายคนทำกิจกรรมอื่นๆ บนเตียงนอน เช่น นอนดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ กินอาหาร โทรศัพท์ นั่งสมาธิ สมองของเราจะจำความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่กับกิจกรรม ดังนั้นถ้าเราฝึกสมองให้จำว่าเตียงมีไว้สำหรับ "นอน" เท่านั้น เมื่ออยู่บนเตียงความรู้สึกง่วงนอนจะเกิดง่ายขึ้น

10. เมื่อเอนตัวลงนอนแล้ว ควรหยุดอุปนิสัยบางอย่างที่เกิดจากความเคยชินจนเป็นนิสัย

เช่น การคิดเรื่อยเปื่อย การคิดถึงปัญหา เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มคิด ให้ลองผ่อนคลายตัวเอง ทำใจสบายๆ แล้วบอกตัวเองว่านี่คือเวลานอน เวลาพักผ่อน ปัญหาให้นำไปคิดในวันรุ่งขึ้นในเวลาทำงาน ถ้ากลัวลืม ให้จดไว้ในกระดาษก่อน แล้วบอกตัวเองให้พักผ่อน นอนหลับให้เต็มที่

11. หากนอน 30 นาทีแล้วแต่ยังไม่หลับ อย่าฝืนนอนต่อ

อย่าโกรธตัวเองที่นอนไม่หลับ ให้ลุกออกจากเตียงไปหากิจกรรมเบาๆ ทำ เช่น อ่านหน้งสืออ่านเล่น รอจนง่วงอีกครั้งแล้วค่อยกลับไปนอน จะเป็นการฝึกการเรียนรู้ของสมองด้วย

12. อย่าดูนาฬิกาบ่อยๆ

การดูบ่อยๆ เป็นการกดดันตัวเองว่าทำไมถึงไม่หลับสักที และจะทำให้นอนไม่หลับในที่สุด

13. หากคู่นอนมีอาการนอนกรนหรือนอนดิ้น

อาจจำเป็นต้องแยกเตียงนอนหรือห้องนอน

14. การใช้ยานอนหลับ

หากมีความจำเป็นต้องใช้ยานอนหลับ ควรรับประทานตามขนาดและเวลาตามที่แพทย์ระบุและอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด

สิ่งสำคัญ

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม