"ความจริงใจต่อผู้อื่น เป็นคุณธรรมสำคัญมากสำหรับผู้ที่ต้องการความสำเร็จและความเจริญ เพราะช่วยให้สามารถขจัดปัดเป่าปัญหาได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอันเกิดจากความกินแหนงแคลงใจและเอารัดเอาเปรียบกัน นอกจากนั้นยังทำให้ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ และความร่วมมือสนับสนุนจากทุกคน ทุกฝ่ายที่ถือมั่นในเหตุผลและความดี ผู้ที่มีความจริงใจจะทำการสิ่งใดก็มักสำเร็จได้โดยราบรื่น"
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง(Alexander Fleming)

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ผู้ค้นพบเชื้อราเพนนิซิเลียมที่นำมาใช้ผลิตยาเพนนิซิลินอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง

อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง(Alexander Fleming)เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1881 ที่เมืองล็อกฟิลด์ แอร์(Logfield Air) ประเทศสก็อตแลนด์(Scotland) บิดาของเขาชื่อฮิวจ์ เฟลมมิ่ง(Hugh Fleming) เฟลมมิ่งเป็นเด็กซุกซน ฉลาดหลักแหลม เมื่ออายุเข้าเกณฑ์เรียนหนังสือ บิดาได้ส่งเฟลมมิ่งเข้าเรียนที่โรงเรียนคาร์เวล(Carwell School) หลังจากนั้นเข้าเรียนที่คิลมาร์น็อก อะเคดามี(Kilemanox Academy) และเรียนวิชาแบคทีเรียวิทยาที่วิทยาลัยการแพทย์ แห่งโรงพยาบาลเซนต์แมรี่ และจบการศึกษาในปี ค.ศ.1908 ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 หลังจบการศึกษาเฟลมมิ่งเข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำแผนกภูมิคุ้มกันโรค และผู้ช่วยของเซอร์อัลม์โรธ เอ็ดเวิร์ด ไรท์(Sir Almroth Edward Wright) หัวหน้าแผนกแบคทีเรียวิทยาที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่

ในระหว่างปี ค.ศ.1914-1918 ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เฟลมมิ่งได้เข้าเป็นทหารเสนารักษ์ยศนายร้อยตรีประจำกองทัพตำรวจหลวง(Royal Army Corps) ระหว่างนี้เองทำให้เฟลมมิ่งได้เห็นทหารบาดเจ็บจากการต่อสู้จำนวนมาก และบาดแผลของทหารเหล่านี้มีอาการอักเสบ เป็นบาดทะยัก หรือไม่ก็เน่าเปื่อย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทหารเสียชีวิต แพทย์เสนารักษ์ทั้งหลายพยายามดูแลบาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อโรค ซึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งยังทำลายโฟโตไซท์ของร่างกายอีกด้วย

เมื่อสงครามจบลง เฟลมมิ่งเข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยเซนต์แมรี่ และได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแบคทีเรียตัวหนึ่งชื่อว่า สเตปฟิโลคอคคัส(Staphylococcus) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเซฟติซีเมีย(Septicemia) หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด อาการของโรคจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบาดแผลมาก และทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา เฟลมมิ่งได้เพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เพื่อผลิตยาฆ่าเชื้อที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เขาพยายามค้นหาสารสกัดจากสิ่งต่างๆ หลายชนิด เช่น น้ำมูก เนื่องจากครั้งหนึ่งเฟลมมิ่งป่วยเป็นหวัด มีน้ำมูกไหล เขาคิดว่าน้ำมูกเป็นสิ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นมา ดังนั้นเขาจึงใช้น้ำมูกหยดลงในจานที่มีแบคมีเรีย ผลปรากฏว่าสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ร้ายแรงนัก จากนั้นเฟลมมิ่งได้ทดลองนำสิ่งที่ร่างกายผลิตมาทดลอง เช่น น้ำตา โดยใช้น้ำตา 2-3 หยด หยดลงในจานแบคทีเรีย ปรากฏว่าน้ำตาสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าน้ำมูก แต่น้ำตาเป็นสิ่งที่หายากมาก เฟลมมิ่งจึงต้องหาอย่างอื่นมาทดแทน เขาพบว่าในน้ำตามีเอนไซม์ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ทำลายแบคทีเรียได้ เฟลมมิ่งได้นำเล็บ เส้นผม และผิวหนังมาทดลอง แต่เอนไซม์ที่สกัดได้มักมีผลกระทบต่อร่างกาย

ในที่สุดเขาก็ค้นพบเอนไซม์ชนิดหนึ่งในไข่ขาวชื่อว่า ไลโซไซม์(Lysozyme) แต่การแยกไลโซไซม์บริสุทธิ์ออกมาทำให้ยากมาก เฟลมมิ่งเองก็ขาดแคลนเครื่องมือทันสมัย บุคลากรและเวลา เขาจึงเขียนบทความลงในวารสารฉบับหนึ่งเพื่อหาเงินทุนในการทดลอง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่มีใครสนใจ ดังนั้นการสกัดไลโซไซม์จึงต้องหยุดชะงัก เฟลมมิ่งจึงต้องทดลองหาวิธีฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีอื่นที่ง่ายกว่านี้

ในปี ค.ศ.1928 เฟลมมิ่งได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาแบคทีเรีย แต่เขาก็ยังคงทำการทดลองเพื่อค้นหาวิธีฆ่าเชื้อโรค โดยเขาได้ซื้ออุปกรณ์ชนิดใหม่สำหรับเพาะเชื้อแบคทีเรียลักษณะเป็นจานแก้วใส ก้นตื้น มีฝาปิด เฟลมมิ่งใส่พืชทะเลชนิดหนึ่งลงไปในจานทดลองที่มีแบคทีเรีย จากนั้นปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหล่นลงไป แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เฟลมมิ่งมอบหมายให้ผู้ช่วยของเขามีหน้าที่ในการดูแลจานแบคทีเรีย อยู่มาวันหนึ่งผู้ช่วยของเขาลืมปิดฝาจานและตั้งทิ้งไว้บนโต๊ะใกล้กับหน้าต่างห้องทดลอง ปรากฏว่ามีเชื้อราสีเทาเขียวซึ่งมีลักษณะคล้ายกับราที่ขึ้นบนขนมปังอยู่เต็มไปหมด เฟลมมิ่งโกรธผู้ช่วยของเขามาก แต่เฟลมมิ่งก็ไม่ได้ทิ้งจานทดลองและนำไปไว้ที่มุมหนึ่งของห้อง เมื่อเฟลมมิ่งนำจานทดลองนั้นมาทดสอบอีกครั้งอย่างละเอียดก็พบว่า เชื้อราชนิดนี้กินเชื้อแบคทีเรียสเตปฟิโลคอคคัสได้ เฟลมมิ่งจึงเริ่มเพาะเชื้อราชนิดนี้ในขวดเพาะจนได้จำนวนมากพอ เขาได้ทดอลงโดยนำเชื้อแบคทีเรีย 6 ชนิดใส่ลงในจาน แล้วนำเชื้อราที่เพาะใส่ลงไป ปรากฏว่าเชื้อราสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 4 ชนิด ที่เหลืออีก 2 ชนิดเป็นแบคทีเรียชนิดร้ายแรงที่ทำให้เกิดโรคอย่างโรคแอนแทรกซ์(Anthrax)และคอตีบ(Diphtheria)

เฟลมมิ่งได้สอบถามนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายว่า เชื้อราชนิดนี้ชื่ออะไร ในที่สุดเขาก็ได้คำตอบว่าเชื้อราชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเพนนิซิเลียม ชื่อว่า เพนนิซิเลียม อุมรูบรุม เฟลมมิ่งได้นำเชื้อราชนิดนี้มาสกัดเป็นยาชื่อว่า เพนนิซิลิน และนำยามาทดสอบกับสัตว์ทดลอง ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี แต่เขาก็ยังไม่กล้าใช้กับมนุษย์ เพราะยังไม่สามารถสกัดเพนนิซิลินบริสุทธิ์ได้ เฟลมมิ่งพยายามแยกเพนนิซิลินหลายวิธีแต่ก็ไม่สำเร็จ เขาจึงเขียนบทความลงในวารสารการแพทย์เล่มหนึ่ง ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจและสามารถแยกแพนนิซิลินบริสุทธิ์ได้สำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นก็คือ โฮวาร์ด วอลเทอร์(Howard Walter) นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย

จากการค้นพบครั้งนี้ เฟลมมิ่งได้รับการยกย่องและรับมอบรางวัลจากสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1944 เฟลมมิ่งได้รับพระราชทานยศเป็นท่านเซอร์ และปี ค.ศ.1945 เฟลมมิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทย์ร่วมกับโฮวาร์ด วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์ลเชน

ยาเพนนิซิลินเป็นยาที่มีประโยชน์มาก เพราะสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้มากกว่า 80 โรค เช่น แอนแทรกซ์ คอตีบ ปอดอักเสบ บาดทะยัก และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น เฟลมมิ่งเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1955 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม