"การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้"
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

หมู่เลือด(Blood Group)

กรุ๊ปเลือด หรือ หมู่เลือด เป็นลักษณะจำเพาะของสารแอนติเจนซึ่งเป็นโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งมีความสำคัญมากเนื่องจากหากจำเป็นต้องได้รับเลือด จะต้องได้รับเลือดที่มีหมู่เลือดหมู่เดียวกันหรือเข้ากันได้ มิเช่นนั้นอาจเกิดปฏิกิริยาจากการให้เลือดผิดหมู่ซึ่งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นทุกคนจึงควรทราบหมู่เลือดของตัวเอง เพื่อความรวดเร็วและปลอดภัยหากมีเหตุที่จะต้องได้รับเลือด

หมู่เลือดนั้นมีอยู่ด้วยกันกว่า 40 ระบบ แต่ที่มีความสำคัญจริงๆ มีอยู่สองระบบคือ ระบบเอบีโอ(ABO) ซึ่งแบ่งหมู่เลือด 4 หมู่คือ เอ(A) บี(B) โอ(O) และเอบี(AB) และ ระบบอาร์เอช(Rh) ซึ่งแบ่งหมู่เลือดเป็น อาร์เอชบวก(Rh Positive) และ อาร์เอชลบ(Rh Negative)

หมู่เลือดระบบเอบีโอ(ABO Blood Group)

เป็นหมู่เลือดที่กำหนดโดยสารแอนติเจนที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีสองชนิดคือ สารแอนติเจนเอ(A Antigen) และแอนติเจนบี(B Antigen) โดยคนที่ไม่มีสารแอนติเจนชนิดใด ก็จะสร้างสารต้าน(Antibody) ต่อสารแอนติเจนชนิดนั้น ซึ่งถ้าได้เลือดผิดหมู่ก็จะเกิดปฏิกริยารุนแรงจากสารต้านจนเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

หมู่เลือด A คือคนที่มีสารแอนติเจน A บนผิวเม็ดเลือดแดงและไม่มีสารแอนติเจน B จึงสร้างสารต้านต่อแอนติเจน B(Anti B)

หมู่เลือด B คือคนที่มีสารแอนติเจน B บนผิวเม็ดเลือดแดงและไม่มีสารแอนติเจน A จึงสร้างสารต้านต่อแอนติเจน A(Anti A)

หมู่เลือด AB คือคนที่มีทั้งสารแอนติเจน A และสารแอนติเจน B บนผิวเม็ดเลือดแดงและไม่สร้างสารต้านทั้งสองชนิด

หมู่เลือด O คือคนที่ไม่มีทั้งสารแอนติเจน A และสารแอนติเจน B บนผิวเม็ดเลือดแดง จึงสร้างสารต้านต่อทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B

ในการให้เลือดเราจะต้องได้เลือดจากคนเลือดหมู่เดียวกันหรือเข้ากันได้คือไม่มีสารต้านต่อแอนติเจนของเลือดที่จะให้ ดังนี้

หมู่เลือด A

หมู่เลือด B

หมู่เลือด AB

หมู่เลือด O

หมู่เลือดอาร์เอช(Rh Blood Group)

เป็นหมู่เลือดที่กำหนดโดยสารแอนติเจนดี(D Antigen) ที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง โดยคนที่มีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์เอชบวก(Rh Positive) ส่วนคนที่ไม่มีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์เอชลบ(Rh Negative) โดยทั่วไปหมู่เลือดอาร์เอชลบ(Rh Negative) จะยังไม่มีสารต้าน D(Anti D) แต่สารต้าน D จะถูกสร้างขึ้นเมื่อได้รับเลือดอาร์เอชบวก(Rh Positive) ซึ่งมีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงหรือตั้งครรภ์บุตรที่มีเลือดอาร์เอชบวก ดังนั้นสำหรับคนที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบ หากจำเป็นต้องได้เลือด จึงควรจะได้เลือดหมู่อาร์เอชลบเพื่อป้องกันการสร้างสารต้าน D แต่ถ้ามีการสร้างสารต้าน D อยู่แล้ว จำเป็นต้องได้รับเฉพาะเลือดอาร์เอชลบเท่านั้น ส่วนในกรณีของการตั้งครรภ์ หากยังไม่มีสารต้าน D ก็ควรจะฉีดยาป้องกันการสร้างสารต้าน D ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด เพราะหากมารดามีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชลบ แต่ลูกในครรภ์มีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชบวก จะทำให้ร่างกายของมารดาสร้างสารต้าน D ขึ้นมา และสารต้าน D จากร่างกายมารดาจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกที่อยู่ในครรภ์ ทำให้เกิดอันตรายต่อลูกที่อยู่ในครรภ์ได้

ส่วนหมู่เลือดในระบบอื่นๆ นั้นมีความสำคัญรองลงไป ไม่ได้ทำการตรวจเป็นประจำ แต่จะทำการตรวจหาสารต้านของหมู่เลือดระบบอื่นๆ(Antibody Screening) เฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับเลือดก่อนการให้เลือด

การตรวจหมู่เลือด

ในปัจจุบันหากท่านมาบริจาคเลือด เลือดของท่านก็จะได้รับการตรวจหมู่เลือดทั้งระบบเอบีโอและระบบอาร์เอชเพื่อเตรียมให้ผู้ป่วย และหากท่านมีหมู่เลือดชนิดพิเศษหที่หายาก ท่านอาจได้รับการติดต่อจากธนาคารเลือดเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้บริจาคเลือดหมู่พิเศษซึ่งจะได้รับการติดต่อเพื่อมาบริจาคเลือดเมื่อมีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เลือดหมู่ของท่านต่อไป

หากท่านเป็นผู้ป่วยที่จะต้องได้รับเลือด ท่านจำเป็นจะต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อมาตรวจที่ธนาคารเลือดเพื่อยืนยันหมู่เลือด ตรวจหาสารต้านหมู่เลือดในระบบอื่นๆ และตรวจความเข้ากันได้กับเลือดที่จะได้รับ ก่อนที่จะได้รับเลือดทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

หากท่านยังไม่ทราบหมู่เลือดของตนเอง ท่านสามารถรับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเองเมื่อมีเหตุที่ต้องได้รับเลือดฉุกเฉิน

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม