"Imagination is More Important Than Knowledge. Knowledge Is Limited. Imagination Encircles The World - จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้นั้นมีจำกัด แต่จินตนาการมีอยู่ทุกพื้นที่บนโลก"
Albert Einstein(อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์)

ทำอย่างไรเมื่อเผชิญกับภาวะไตวาย

ไต เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือดแล้วขับออกทางปัสสาวะ รักษาสมดุลของเหลวในร่างกายด้วยการควบคุมปริมาณน้ำและแร่ธาตุ ควบคุมความดันโลหิต รวมถึงผลิตฮอร์โมนต่างๆ ที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดงและเสริมสร้างกระดูก หากไตถูกทำลายก็จะส่งผลให้ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ลดลงจนถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป หรือที่เรียกกันว่า ภาวะไตวาย

เมื่อไตไม่ทำงาน

เมื่อเกิดภาวะไตวาย ของเสียและน้ำจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ผิวแห้ง คัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน ปัสสาวะลดลง ตัวบวม ตาบวม น้ำท่วมปอด หายใจไม่ถนัด นอนราบไม่ได้ ความดันโลหิตสูง มีภาวะซีด เลือดจาง และอาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้

เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การรักษาจำเป็นต้องเริ่มที่สาเหตุของการเกิดโรคเสียก่อน เช่น หยุดการใช้ยาบางชนิดที่มีผลเสียกับไต ควบคุมความดัน ควบคุมเบาหวาน ควบคุมอาหารที่ทำให้ปริมาณเกลือแร่ผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น แพทย์อาจให้ยาบางชนิดเพื่อช่วยควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ให้ยาขับปัสสาวะ เสริมวิตามินหรือธาตุเหล็กหากมีภาวะซีด รวมถึงฉีดฮอร์โมนกระตุ้นเม็ดเลือด

หากผู้ป่วยมีภาวะไตวาย ทางเลือกในการรักษามีเพียงการบำบัดทดแทนไตเท่านั้นซึ่งสามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม(Hemodialysis) การล้างไตทางผนังช่องท้อง(Peritoneal Dialysis) และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต(Kidney Transplantation)

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ปัจจุบัน การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากสามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการปลูกถ่ายอวัยวะ และเป็นการบำบัดในโรงพยาบาลภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนลงได้ เช่น ผู้ป่วยอาจได้รับการยาฆ่าเชื้อก่อนในกรณีที่มีโอกาสติดเชื้อ มีการตรวจติดตามความดันโลหิตและปริมาณเกลือแร่ในร่างกายเป็นระยะ มีการตรวจติดตามการเต้นของหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเหมาะกับใครบ้าง

ข้อดีของการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการเปลี่ยนอวัยวะ เป็นการบำบัดในโรงพยาบาลภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนลงได้ โดยแพทย์จะมีการตรวจติดตามความดันโลหิตและปริมาณเกลือแร่ในร่างกายเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจติดตามการเต้นของหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ขั้นตอนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ก่อนการฟอกเลือด ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมหลอดเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือด ซึ่งมี 3 วิธี ได้แก่

การฟอกเลือดไม่น่ากังวลอย่างที่คิด

โดยทั่วไป ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้โดยไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ยกเว้นผู้ป่วยบางรายที่แพทย์แนะนำให้งดรับประทานยาบางชนิดก่อน เช่น ยาลดความดัน หรือให้งดอาหารระหว่างการฟอกเลือดเพื่อป้องกันการสำลัก โดยระหว่างการฟอกเลือดผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากแพทย์และพยาบาลอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ การดูแลตัวเองของผู้ป่วยก็นับว่าสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเส้นฟอกเลือดตามคำแนะนำของแพทย์ การประเมินร่างกายตัวเองอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารซึ่งต้องลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม เน้นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้อย่างเหมาะสม เพียงเท่านี้ ผู้ป่วยภาวะไตวายก็สามารถมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพได้ไม่ยาก

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม