"Education Is The Most Powerful Weapon Which You Can Use To Change The World - การศึกษาเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุด ที่เราจะนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงโลก"
Nelson Mandela(เนลสัน แมนเดลา)

โรคอุณหพาต(Heat Stroke)

โรคอุณหพาตหรือโรคลมเหตุร้อน(heat stroke) คือ ภาวะอัมพาต(สมองทำงานผิดปกติ) ที่มีสาเหตุจากความร้อน ซึ่งจัดได้ว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์อย่างแท้จริง เนื่องจากหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที ก็จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการลงได้อย่างมาก

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคอุณหพาต ได้แก่ ทหารผู้ที่เข้ารับการฝึกโดยปราศจากการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมในการเผชิญสภาพอากาศร้อน นักกีฬาสมัครเล่น และผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น รวมทั้งมียาที่มักเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอุณหพาต ได้แก่ แอมเฟตามีน โคเคน และยาที่ออกฤทธิ์ต้านโคลินเนอร์จิก ได้แก่ tricyclic antidepressant, antihistamine เป็นต้น

อาการของโรคอุณหพาต

โรคอุณหพาตเป็นโรคที่เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนทำให้ความร้อนในร่างกาย(core temperature) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการเบื้องต้น ได้แก่ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน ปวดศีรษะ ความดันต่ำ หน้ามืด ไวต่อสิ่งเร้าง่าย และยังอาจมีผลต่อระบบไหลเวียน ซึ่งอาจมีอาการเพิ่มเติมได้แก่ ภาวะขาดเหงื่อ เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว ไตล้มเหลว มีการตายของเซลล์ตับ หายใจเร็ว มีการบวมบริเวณปอดจากการคั่งของของเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ การสลายกล้ามเนื้อลาย ช็อค และเกิดการสะสมของ fibrin จนไปอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็กทำให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้

สัญญาณสำคัญของโรคอุณหพาต

สัญญาณสำคัญคือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไปที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที และสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้โดย

แนวทางการป้องกันการเจ็บป่วยจากความร้อน

- เตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะเผชิญสภาพอากาศร้อน โดยการออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพให้เคยชินกับอากาศร้อน

- ดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด และหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละประมาณ 1 ลิตร(4-6 แก้วต่อชั่วโมง) แม้ไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม

- สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี

- ใช้โลชั่นกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป

- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10 โมงถึงบ่าย 3

- หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก โดยเฉพาะก่อนออกกำลังกาย หรือต้องอยู่ท่ามกลางอากาศร้อน หรือกลางแดดเป็นเวลานานๆ

- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยาเสพติดทุกชนิด

- ในเด็กเล็ก และคนชราที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษโดย

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม