"The beautiful Thing About Learning Is Nobody Can Take It Away From You - สิ่งที่วิเศษสุดสำหรับการเรียนรู้ คือไม่มีใครสามารถเอามันไปจากคุณได้"
B.B. King(บี.บี. คิง)

รับมือโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมากกว่า 2 ล้านคน ทุกๆ 3 วินาที จะมีคนกระดูกหัก 1/5 เสียชีวิตในปีแรกหลังจากกระดูกสะโพกหัก 1/3 พิการถาวร ต้องการคนดูแล

หลายโรคที่ทำให้เจ็บป่วยสามารถรู้ได้ล่วงหน้าจากอาการและสัญญาณต่างๆ จึงทำให้รีบรักษาและหายขาดได้ แต่สำหรับ กระดูกพรุน คือภัยเงียบอย่างแท้จริงที่รุกคืบมานานปีโดยที่มิอาจรู้ตัวมาก่อน จนวันหนึ่งเกิดกระดูกหักเพียงเพราะสาเหตุเล็กน้อย!

โรคกระดูกพรุนคืออะไร?

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ความแข็งแกร่งของกระดูก(bone strength)ลดลง ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก ความแข็งแกร่งของกระดูกในนิยามนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ความหนาแน่นของกระดูก(bone density) และคุณภาพของกระดูก(bone quality) อาการของโรคกระดูกพรุนโดยทั่วไปมักจะมี 2 ระยะคือ

ระยะเริ่มต้นที่มวลกระดูกเริ่มลดลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไรเลย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นในผู้หญิงที่เริ่มหมดประจำเดือนและมีปัจจัยเสี่ยง ช่วงนี้สามารถตรวจสอบได้จากการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเท่านั้น

ระยะที่กระดูกพรุนชนิดรุนแรง คือ มีกระดูกโปร่งบางมากร่วมกับมีกระดูกสันหลังหักยุบ หรือการเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม และสังเกตได้ว่าส่วนสูงของผู้ป่วยลดลง ในบางครั้งอาการปวดหลังอาจจะร้าวมาที่บริเวณหน้าอก หลังโก่ง ทานข้าวได้น้อยลง อืดท้องแน่นท้อง มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป บางครั้งอาจเกิดกระดูกหักที่ตำแหน่งบริเวณข้อมือ ปวดเมื่อยตามร่างกาย

อาการแสดงของโรคกระดูกพรุน

1. มีกระดูกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย

2. ปวดกระดูก

3. หลังโก่งหรือตัวเตี้ยลง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีมวลกระดูกน้อยกว่าผู้ชายถึง 30% จึงมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า 2-3 เท่า มวลกระดูกของผู้ชายจะลดลงอย่างช้าๆ ตามวัยที่สูงขึ้นแต่ไม่ลดฮวบฮาบเหมือนผู้หญิง เพราะผู้ชายไม่ได้ขาดฮอร์โมนเพศอย่างกระทันหัน

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม