"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"
พระราชดำรัสของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

พาร์กินสัน(Parkinson)

สาเหตุของโรคพาร์กินสันมีอะไรบ้าง

โรคพาร์กินสันอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ มากมาย ดังนี้

อาการของโรคพาร์กินสันมีอะไรบ้าง

โรคพาร์กินสันจะพบมากในผุ้สุงอายุ(อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) โดยมีอาการทางระบบสมองที่เด่นชัด 4 ประการได้แก่

อาการแทรกซ้อนของโรคพาร์กินสันที่สาคัญ

ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักมีภาวะแทรกซ้อนที่สาคัญอีก 4 อย่างที่ควรทราบคือ

ทางเลือกของการรักษา

การรักษาทางยา

ปรึกษาแพทย์ในการใช้ยาเพื่อทำให้สารโดปามีนในสมองมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

การรักษาทางกายภาพบำบัด

จุดมุ่งหมายของการรักษาโรคพาร์กินสันคือสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ สามารถเข้าสังคมได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงมีความสุขทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย การรักษาทางกายภาพบำบัดจะช่วยผู้ป่วยในด้านการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและสมส่วน ท่าเดินนั่งและการทรงตัว ตลอดจนการออกกายบริหารและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น หลังโก่ง ไหล่ติด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา เป็นต้น

การรักษาโดยการผ่าตัด

โดยการฝังเครื่องกระตุ้นสมองที่เรียกว่า Deep Brian Stimulation(DBS) เพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้ายับยั้งการทำงานของสมองส่วนที่ทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยที่รักษาโดยวิธีนี้จะมีอาการดีขึ้นทันทีหลังจากได้รับการผ่าตัดและสามารถปรับการกระตุ้นภายหลังได้โดยใช้ Remote Control

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ผู้ป่วยพาร์กินสันมักมีการเคลื่อนไหวน้อย ไม่ชอบดื่มน้ำ ไม่รับประทานผักและผลไม้ ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำให้มาก เลี่ยงการดื่มชาหรือกาแฟ เป็นต้น และทำกายภาพบำบัดง่ายๆ ซึ่งผู้ป่วยสามารถทำได้เองดังนี้

การเดิน

ให้ยืดตัวตรงและก้าวเท้าให้ยาวพอสมควร เอาส้นเท้าลงและเดินให้เต็มฝ่าเท้า แกว่งแขนขณะเดินเพราะจะทำให้การทรงตัวดีขึ้น และจะไม่ล้มง่ายหากหมุนตัวหรือกลับตัวเร็วๆ ฝึกเดินทุกวันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะเดินอย่าหันรีหันขวางหรือเดินไขว้ขา ในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ไม้เท้าช่วยเดิน

การจัดท่าของร่างกาย

นอนราบบริหารกล้ามเนื้อท้องโดยแอ่นท้องในท่านอนหงายราบกับพื้นแข็งทุกวันวันละ 30 นาที การฝึกยืนเชิดหน้าเงยคางหลังชิดกำแพงหรือผนังห้อง ขาสองข้างห่างกันเล็กน้อยปลายส้นเท้าห่างฝาห้องราว 4 นิ้ว จากนั้นยกไหล่ หลังและเงยหัวติดกำแพง เป็นท่าที่ทำให้ผู้ป่วยยืนยืดตัวได้เต็มที่

การทรงตัว

ห้ามใส่รองเท้าส้นสูงเป็นอันขาด ให้ใช้รองเท้าส้นเตี้ยและไม่ใช้รองเท้าที่ทำด้วยยางหรือเหนียวติดพื้น การบริหารข้อทุกข้อของร่างกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยทรงตัวได้ดีขึ้น

การนอน

ไม่ควรใช้เตียงที่สูงเกินไป เวลาขึ้นเตียงนอนให้นั่งที่ขอบเตียงก่อน จากนั้นเอนตัวลงนอนตะแคงข้างโดยใช้ข้อศอกยันแล้วจึงยกเท้าขึ้นบนเตียง วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดหลังและเอวได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องลุกขึ้นกลางดึก เช่น เข้าห้องน้ำ ผู้ป่วยต้องเปิดไฟให้สว่างเพียงพอก่อนเสมอ อย่าใช้วิธีเดินสุ่มในความมืด

การดูแล

การเอาใจใส่ของสมาชิกในครอบครัวตลอดจนความเข้าอกเข้าใจในผู้ป่วยและเข้าใจลักษณะของโรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจและหายจากภาวะซึมเศร้าได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการของโรคซึมเศร้ารุนแรงจำเป็นต้องรีบปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อหาทางรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะผู้ป่วยอาจคิดสั้น ทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่นได้

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม