"ความจริงใจต่อผู้อื่น เป็นคุณธรรมสำคัญมากสำหรับผู้ที่ต้องการความสำเร็จและความเจริญ เพราะช่วยให้สามารถขจัดปัดเป่าปัญหาได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอันเกิดจากความกินแหนงแคลงใจและเอารัดเอาเปรียบกัน นอกจากนั้นยังทำให้ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ และความร่วมมือสนับสนุนจากทุกคน ทุกฝ่ายที่ถือมั่นในเหตุผลและความดี ผู้ที่มีความจริงใจจะทำการสิ่งใดก็มักสำเร็จได้โดยราบรื่น"
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

"โรคปริทันต์" ถ้ารู้เท่าทันเราก็ไม่เป็น

แน่ใจมั้ยว่าแปรงฟันสะอาดทุกวัน? เรื่องนี้ละเลยไม่ได้เลยนะคะ เพราะเรากำลังกล่าวถึง "โรคปริทันต์"(Periodontal Disease) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "รำมะนาด" ซึ่งเป็นวายร้ายที่ค่อยๆ ย่องระรานสุขภาพเหงือกและฟันของเราอย่างเงียบๆ

โดยทั่วไป เรามักจะคิดว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นเพียงอาการของโรคเหงือกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว การอักเสบนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่เหงือก แต่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่อยู่รอบๆ ฟัน ไม่ว่าจะเป็น กระดูกเบ้าฟัน เอ็นยึดปริทันต์ และผิวรากฟัน ซึ่งทำหน้าที่ยึดและพยุงฟัน ทำให้ฟันสามารถฝังอยู่ในขากรรไกรได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคปริทันต์มักจะมีฟันโยก จนทำให้สูญเสียฟันได้

สาเหตุของโรคปริทันต์

จากการที่เราทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ คราบอาหารตกค้างทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียที่เราเรียกกันว่า "แผ่นคราบจุลินทรีย์"(Plaque) เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจาก น้ำลาย และน้ำที่อยู่ในร่องเหงือก จนกลายเป็น "หินน้ำลาย" หรือ "หินปูน" เชื้อแบคทีเรียจะเป็นตัวทำให้ เหงือกอักเสบ บวมแดง มีเลือดออก และหากเป็นมาก อาจทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ได้

สัญญาณอันตราย เมื่อโรคปริทันต์มาเยือน

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีอาการไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น ควรมาพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจรักษา หากทิ้งไว้นานอาจมีปัญหาฟันโยกถึงขั้นต้องสูญเสียฟันได้

ขั้นตอนการรักษาโรคเหงือก

การรักษาจะเริ่มต้นด้วยการขูดหินปูน และเกลารากฟัน(root planing) คือการทำให้ผิวรากฟันเรียบ เป็นการกำจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่เกาะบนผิวรากฟันให้สะอาด ขั้นตอนนี้จะใช้เวลานาน เนื่องจากต้องกำจัดหินปูน และคราบจุลินทรีย์ให้หมด โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ร่องเหงือกลึกๆ และฟันหลังที่มีหลายราก ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะต้องทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ภายหลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดกลับมาดูอาการอีกครั้งว่าหายดีหรือไม่ และถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่เนื่องจากมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด(ศัลยปริทันต์:Periodontal Surgery) ร่วมด้วย ซึ่งจะทำได้ในผู้ป่วยที่ดูแลความสะอาดได้ดีแล้วเท่านั้น

การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความพิการของกระดูกเบ้าฟันที่ถูกทำลายไป

ในบางกรณี สามารถที่จะปลูกกระดูกทดแทนได้ แต่ในบางครั้งก็ไม่อาจทำได้ การผ่าตัดเหงือกจะเป็นการเข้าไปทำความสะอาดในตำแหน่งที่ลึกและเครื่องมือลงไปทำความสะอาดไม่ถึง

เมื่อผ่าตัดแล้ว จะหายขาดหรือไม่

ผู้ป่วยโรคปริทันต์ ควรได้รับการตรวจติดตามผลการรักษา และให้ทันตแพทย์ขูดหินน้ำลายเพื่อทำความสะอาดฟันเป็นประจำทุกๆ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้โรคปริทันต์กลับมาอีก ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ การใส่ใจดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก แปรงฟันถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน แต่อย่าเพิ่งกังวลไปนะคะ เพราะโรคปริทันต์สามารถป้องกันได้ เพียงหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดฟันและช่องปาก เลิกสูบบุหรี่ ส่วนผู้ที่เป็นโรคนี้ก็อย่าเพิ่งวิตกจนเกินไป เพราะหากได้รับการดูแลรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ท่านก็จะมีสุขภาพเหงือกและฟันดีขึ้น ในบางครั้งผู้ป่วยที่มาพบคุณหมอในครั้งแรก แม้จะยังไม่ได้รับการรักษา เพียงแค่พูดคุยทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามคำแนะนำในเรื่องการทำความสะอาดฟัน รับรองได้ว่าจะมีสุขภาพเหงือกที่ดีขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม