"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"
พระราชดำรัสของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

การตรวจสุขภาพประจำปีในผู้สูงอายุ

ปัจจุบันประชาชนไทยมีอายุยืนขึ้น ผลจากการที่มีอายุมากขึ้นย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพลงตามธรรมชาติเนื่องจากความชรา ระบบอวัยวะต่างๆ จะทำงานด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้อุบัติการณ์ของโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ และนำไปสู่ปัญหาทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัวและส่วนรวมได้ ดังนั้น การตรวจสุขภาพเป็นระยะๆ เพื่อตรวจพบความเจ็บป่วยใดๆ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นมาก

โรคที่อาจตรวจพบได้ในผู้สูงอายุจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย

การตรวจหู

ภาวะหูหนวก หูตึง พบได้บ่อยมากประมาณร้อยละ 25-35 ในผู้สูงอายุ และพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ ได้แก่

ความผิดปกติอย่างแรกและอย่างที่สาม จำเป็นต้องได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษของแพทย์เฉพาะทางจึงจะยืนยันผลได้แน่นอน การรักษาจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยการได้ยินติดตัวไปกับผู้สูงอายุตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันยังมีราคาแพง การตรวจและรักษาปัญหาทั้ง 2 ดังกล่าว จึงยังไม่แพร่หลายในทางปฏิบัติ ส่วนภาวะหูตึงจากสาเหตุที่สองคือ หูชั้นนอกอุดตันจากขี้หู สามารถวินิจฉัยได้ง่ายจากการตรวจหูชั้นนอกด้วยเครื่องมือที่ส่องเข้าไปดูคล้ายไฟฉายและสามารถให้การรักษาได้เลย จึงเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสม่ำเสมอ

การตรวจตา

ผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 10 จะมีโรคทางตา หรือความสามารถในการมองเห็นลดลงซ่อนเร้นอยู่ สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่

ผู้สูงอายุที่มีต้อหิน ส่วนหนึ่งจะค่อยเป็นค่อยไป มักจะมาพบแพทย์ต่อเมื่อสายตามัวลงมากจนไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้ ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจป้องกันภาวะตาบอดได้ ส่วนอีก 3 โรคที่เหลืออาจทำการตรวจคัดกรองด้วยการวัดสายตา โดยให้ผู้สูงอายุอ่านภาพตัวอักษรหรือดูรูปที่ห่างออกไป 6 เมตร ถ้าพบว่ามีความผิดปกติ แพทย์ก็จะส่งตัวผู้ป่วยไปพบจักษุแพทย์ต่อไป

การตรวจสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

โรคทางจิตเวชที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่อาจซ่อนเร้นอยู่ มี 2 ภาวะคือ ภาวะซึมเศร้า(Depression) และภาวะสมองเสื่อม(Dementia) การตรวจเพื่อค้นหาภาวะดังกล่าว แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติอย่างละเอียดทั้งจากตัวผู้สูงอายุ ญาติ และผู้ดูแลใกล้ชิด ซึ่งการตรวจเช่นนี้จะใช้เวลาพอสมควร และควรได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง การตรวจชนิดนี้ญาติหรือตัวผู้สูงอายุจำเป็นต้องเล่าถึงอาการทางจิตเวชด้วย ทั้งนี้ต้องพิจารณาเป็นรายๆไป

โรคผิวหนัง

โรคผิวหนังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่

โรคเกี่ยวกับเหงือกและฟัน

ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 50 มีโรคเกี่ยวกับเหงือกและฟันซ่อนเร้นอยู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองหรือมีฐานะยากจน โรคที่พบบ่อย ได้แก่ ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมะเร็งในช่องปาก วิธีตรวจเพื่อค้นหาภาวะดังกล่าวที่ดีคือ การให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นระยะ

การตรวจภายในเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ในสตรี

เป็นการตรวจค้นหาก้อนเนื้องอกผิดปกติที่อาจพบได้ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งพบสูงขึ้นตามอายุ ขณะเดียวกันผู้สูงอายุสตรีที่ไม่เคยได้รับการตรวจเซลล์ของปากมดลูกก็ควรได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ถ้าปกติติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี สามารถลดความถี่ของการตรวจเป็นทุก 3 ปี

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ประกอบไปด้วยการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะและอุจจาระ โดยทั่วไปวิธีการเหล่านี้สามารถตรวจพบโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ในผู้สูงอายุได้เพียงร้อยละ 2-3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการซักประวัติ และตรวจร่างกายจากแพทย์เสมอ โรคที่พบได้บ่อยจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม