"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"
พระราชดำรัสของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

เจมส์ วัตต์(James Watt)

เจมส์ วัตต์ วิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวสกอตแลนด์ ผู้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำจนมีประสิทธิภาพและใช้อย่างแพร่หลายเป็นคนแรกเจมส์ วัตต์

เจมส์ วัตต์(James Watt)เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1736 ที่เมืองกรีนน็อค ประเทศอังกฤษ พ่อของเขาชื่อว่า โทมัส วัตต์(Thomas Watt) เป็นช่างไม้และดำเนินกิจการเกี่ยวกับไม้ทุกชนิด ฐานะทางครอบครัวของวัตต์ค่อนข้างยากจน จึงทำให้วัตต์ไม่ได้รับการศึกษามากนัก แต่เขาสนใจการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก เขายังเคยช่วยงานในร้านของพ่ออยู่ระยะหนึ่งทำให้เขามีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับการประดิษฐ์ดี แต่ทำงานได้ไม่นานก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตซ้ำซากจำเจ ปี ค.ศ. 1754 เขาจึงเดินทางไปยังเมืองกลาสโกว์(Grassgrow) และได้งานทำในตำแหน่งผู้ช่วยช่างในร้านทำเครื่องใช้แห่งหนึ่ง

เนื่องจากช่วงเช้าทำงานและไปเรียนในช่วงเย็นหลังเลิกงาน ทำให้สุขภาพของเขาอ่อนแอลง เขาจึงตัดสินใจลาออกจากงานและเดินทางไปยังกรุงลอนดอนเพื่อเรียนหนังสืออย่างจริงจัง แต่ในระหว่างที่วัตต์อยู่ที่กรุงลอนดอนได้เกิดสงครามยุโรปขึ้นและรัฐบาลมีคำสั่งให้เกณฑ์ชายหนุ่มเข้าฝึกทหาร วัตต์ไม่อยากเป็นทหารจึงเดินทางกลับเมืองกรีนน็อค ในปี ค.ศ. 1756 เมื่อมาถึงบ้านเขาต้องการเปิดร้านรับซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้แต่ไม่สามารถเปิดได้ เนื่องจากกฎหมายของเมืองนี้ระบุไว้ว่าผู้ที่จะประกอบการค้าได้นั้นต้องจดทะเบียนกับสมาคมพ่อค้าซึ่งจะต้องเป็นบุตรของพ่อค้าหรือเคยทำงานในร้านค้ามาก่อน วัตต์จึงต้องหางานอื่นทำโดยได้งานในตำแหน่งช่างซ่อมเครื่องมือในมหาวิทยาลัยกลาสโกว์รับค่าจ้างปีละ 35 ปอนด์

วันหนึ่งเครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมนของมหาวิทยาลัยเสีย วัตต์สามารถซ่อมและปรับปรุงให้เครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมนมีประสิทธิภาพดีขึ้น ด้วยเหตุนี้เองวัตต์มีความคิดที่จะสร้างเครื่องจักรไอน้ำให้มีประสิทธิภาพดีกว่าของนิวโคแมนที่มีขนาดใหญ่และทำงานช้า ในปี ค.ศ. 1773 วัตต์จึงเริ่มประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำโดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก จอห์น โรบัค(John Roebuck) เขานำเครื่องยนต์ทั้งหมดใส่ในโลหะทรงกระบอกเพื่อทำให้เครื่องจักรมีขนาดเล็กลงและต่อท่อให้ไอน้ำเข้าเครื่องจักรโดยตรงเพื่อให้ไอน้ำเข้าไปดันลูกปืนให้เครื่องทำงาน ในระยะแรกเครื่องจักรไอน้ำยังมีปัญหาเพราะเมื่อไอน้ำกลายเป็นน้ำจะทำให้ไอน้ำที่ส่งเข้าไปใหม่กลายเป็นหยดน้ำไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เครื่องจักรทำงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่ก็หยุดทำงานไปเลย ทำให้โรบัคไม่สนับสนุนเงินทุนให้เขาอีกเพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าวัตต์จะสามารถประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้ แมทธิว โบลตัน(Mathew Bolton) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมจึงเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนให้วัตต์แทน

วัตต์หาวิธีแก้ปัญหานี้จนกระทั่งปี ค.ศ.1776 จึงสามารถแก้ได้โดยเพิ่มท่อส่งไอน้ำเข้าแยกออกมาจากท่อที่ให้ไอน้ำเย็นซึ่งจะกลายเป็นหยดน้ำ เมื่อวัตต์สามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ เขานำผลงานไปจดสิทธิบัตรและร่วมมือกับโบลตันผลิตเครื่องจักรไอน้ำออกจำหน่าย เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์เป็นที่นิยมและทำให้วงการอุตสาหกรรมทั้งในยุโรป และสหรัฐฯ มีศักยภาพในการผลิตมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นเครื่องจักรของวัตต์ยังเป็นต้นแบบของเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันในปัจจุบันอีกด้วย

วัตต์ไม่เพียงแต่ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเท่านั้น เขายังประดิษฐ์เครื่องมืออีกหลายชนิด เช่น ในปี ค.ศ. 1784 วัตต์ประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยตีเหล็กและในปี ค.ศ.1785 วัตต์ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยปั่นด้าย เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประดิษฐ์เครื่องจักรสำหรับใช้ในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้วงการอุตสาหกรรมมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม