"สัจจวาจา นั้นเป็นรากฐานของการทำงาน หรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งามที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จ "สัจ" เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ "วาจา" เป็นคำพูดออกมา แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น"
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มารี คูรี่(Marie Curie)

มารี คูรี่(Marie Curie)มารี คูรี่

มารี คูรี่(Marie Curie ชื่อเดิม มารียา สโคลดอฟสกา Marja Sklodowska) เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1867 ที่กรุงวอร์ซอร์ ประเทศโปแลนด์ บิดาชื่อว่า วลาดิสลาฟ สโคลดอฟสกา เป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อยู่ที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงวอร์ซอร์ บิดามักพาเธอไปห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนเสมอ ทำให้เธอมีความสนใจวิชาวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ต่อมารัสเซียได้เข้ายึดโปแลนด์เป็นเมืองขึ้น ทั้งกดขี่ข่มเหงชาวโปแลนด์ และมีคำสั่งให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวเท่านั้นเพื่อป้องกันการก่อกบฏ ทำให้ครอบครัวของมารีและชาวโปแลนด์ได้รับความลำบากมาก

หลังจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว มารีได้เข้าทำงานเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง และรับสอนพิเศษให้กับเด็กๆ แถวบ้าน มารีและบรอนยา(พี่สาวของมารี ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนอนุบาลเช่นเดียวกัน)มีความตั้งใจว่าถ้าเก็บเงินได้มากพอก็จะไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส แต่เนื่องจากรายได้น้อย ทำให้ทั้งสองตกลงกันว่าจะนำเงินเก็บมารวมกัน โดยให้บรอนยาไปเรียนต่อแพทย์ก่อน เมื่อบรอนยาเรียนจบแล้วหางานทำจึงส่งมารีไปเรียนต่อวิทยาศาสตร์ ดังนั้นบรอนยาจึงเดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยปารีส(Paris University) ประเทศฝรั่งเศส หลังจากบรอนยาเรียนจบ มารีจึงเดินทางไปประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1891 เพื่อศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปารีส แต่เงินที่บรอนยาส่งมาให้นั้นเพียงพอสำหรับแค่ค่าห้องพักและค่าอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้มารีไม่สบายบ่อยเพราะไม่มีเงินพอจะซื้อเสื้อผ้าป้องกันความหนาว แต่มารีก็ยังใช้เวลาส่วนใหญ่กับการอ่านหนังสือและทำให้เธอมีโอกาสได้พบกับปิแอร์ คูรี่ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมห้องทดลองและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยปารีส ด้วยความที่ทั้งสองมีชีวิตคล้ายๆ กัน และรักในวิชาวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ปิแอร์และมารีจึงตกลงใจแต่งงานกันในปี ค.ศ.1895 และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จนกระทั่งปิแอร์เสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1906 จากอุบัติเหตุรถชน

ในระหว่างนั้นมีนักวิทยาศาสตร์หลายคนทดลองและค้นพบรังสีหลายชนิด เช่น

จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ ทำให้มารีมีความคิดที่จะทดลองหากัมมันตภาพรังสีจากแร่ชนิดอื่นบ้าง การทดสอบหารังสียูเรเนียมทำได้โดยการนำธาตุมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาโรยใส่แผ่นฟิล์มถ่ายรูป แต่ต้องทำในห้องมืดเพื่อไม่ให้แสงโดนฟิล์มจากนั้นจึงนำฟิล์มไปล้าง ถ้าปรากฏจุดสีดำบนแผ่นฟิล์มแสดงว่าธาตุชนิดนั้นสามารถแผ่รังสีได้ นอกจากนี้ยังสามารถทดสอบได้จากเครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้า(Electroscope) มารีร่วมมือกับสามีทำการค้นหารังสียูเรเนียมจากธาตุชนิดอื่น ทั้งธาตุที่มียูเรเนียมและธาตุที่ไม่มียูเรเนียมผสมอยู่ จากการทดสอบทั้งสองพบว่าธาตุที่มีสารประกอบยูเรเนียมสามารถแผ่รังสียูเรเนียมได้แต่ก็ให้กำลังน้อยมาก มารีใช้เวลาหลายปีในการทดลองจนในที่สุดเธอก็พบว่าในแร่พิทซ์เบลนด์(Pitchblende หรือที่รู้จักกันในชื่อแร่ยูเรนิไนท์ Uraninite) ซึ่งเป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของแร่ยูเรเนียมสามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมหลายเท่า แต่การที่แร่พิทซ์เบลนด์สามารถแผ่รังสีได้น่าจะมีธาตุชนิดอื่นผสมอยู่ซึ่งมารีตั้งชื่อธาตุชนิดนั้นว่า เรเดียม(Radium - Ra) มารีนำการค้นพบธาตุเรเดียมนี้ทำเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

เครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้า Electroscopeเครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้า

ปิแอร์และมารียังคงทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรเดียมเพื่อแยกธาตุเรเดียมจากแร่พิทซ์เบลนด์ให้ได้ แต่ทั้งสองต้องพบกับอุปสรรคมากมายตั้งแต่ห้องทดลองที่คับแคบ เครื่องมือทดลองเก่าและล้าสมัย รวมถึงในขณะนั้น มารีให้กำเนิดบุตรสาวคนแรก ทำให้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ทั้งสองยังคงพยายามแยกเรเดียมซึ่งก็ยังมีโชคดีอยู่บ้างที่ทางมหาวิทยาลัยปารีสอนุญาตให้ทั้งสองใช้ห้องที่อยู่ใกล้ๆ กับห้องทดลองเป็นสถานที่แยกเรเดียมได้

ในปี ค.ศ.1898 มารีสั่งซื้อเรเดียมจากออสเตรียจำนวน 1 ตันเพื่อใช้ทดลอง ทั้งสองพยายามแยกแร่เรเดียมด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ใช้สารเคมี บดให้ละเอียดแล้วนำไปละลายน้ำ แยกด้วยไฟฟ้าและใช้เครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้าหลายชนิด เป็นต้น ในที่สุดทั้งสองก็พบวิธีการแยกเรเดียมบริสุทธิ์ได้สำเร็จในปี ค.ศ.1902 และเรียกเรเดียมบริสุทธิ์นี้ว่า "เรเดียมคลอไรด์(Radium chloride)" เรเดียมบริสุทธิ์นี้สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2 ล้านกว่าเท่า ในขณะที่แร่พิทช์เบลนด์แผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมเพียง 4 เท่าเท่านั้น อีกทั้งเรเดียมบริสุทธิ์ยังมีคุณสมบัติสำคัญอีกหลายประการ เช่น ให้แสงสว่างและความร้อน เมื่อเรเดียมแผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี และสามารถแผ่รังสีได้

ระหว่างที่ปิแอร์ทำการทดลองธาตุเรเดียม ผิวหนังของเขาถูกรังสีทำให้ปวดแสบปวดร้อนอีกทั้งยังมีรอยแดงเกิดขึ้น เขาจึงหันมาค้นคว้าว่าเรเดียมมีผลกระทบต่อผิวหนังอย่างไร จากการค้นคว้าปิแอร์สรุปได้ว่าเรเดียมสามารถรักษาโรคผิวหนังและโรคมะเร็งได้ ทั้งสองนำผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่ให้กับสาธารณชนได้รู้ และจากผลงานชิ้นนี้ทั้งสองได้รับรางวัลจากสมาคมวิทยาศาสตร์หลายแห่ง ได้แก่ เหรียญทองเดวี่จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน และ ค.ศ.1903 ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับอังตวน อังรี เบคเคอเรล นอกจากนี้ทั้งสองยังได้รับเงินสนับสนุนจากสภาวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศสในการจัดซื้อแร่พิทช์เบลนด์

ในปี ค.ศ.1906 ปิแอร์ประสบอุบัติเหตุรถชนเสียชีวิต ถึงมารีจะเศร้าโศกกับเรื่องนี้มากแต่เธอก็ยังคงทำการทดลองของเธอต่อไป ต่อมามหาวิทยาลัยปารีสได้อนุมัติเงินก้อนหนึ่งให้กับมารีในการจัดสร้างสถาบันเรเดียมเพื่อทำการทดลองค้นคว้าและแยกธาตุเรเดียมสำหรับประโยชน์ทางการแพทย์ จากการค้นคว้าเกี่ยวกับธาตุเรเดียมอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1911 มารีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์อีกครั้งหนึ่งจากผลงานการค้นคว้าหาประโยชน์จากเรเดียมเพิ่มเติม ในปี ค.ศ.1914 สถาบันเรเดียมก็สร้างเสร็จ แต่ถึงแม้ว่าจะมีห้องทดลองและอุปกรณ์ที่ทันสมัยแล้ว ก็มีเหตุที่ทำให้การทำงานต้องหยุดชะงัก เพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ผู้ช่วยและคนงานที่ทำงานในสถาบันเรเดียม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เมื่อเป็นเช่นนั้นมารีจึงสมัครเข้าร่วมกับอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บและนำความรู้ไปใช้ในงานครั้งนี้ด้วยการจัดตั้งแผนกเอกซเรย์เคลื่อนที่ขึ้น เพื่อตระเวนรักษาทหารบาดเจ็บตามหน่วยต่างๆ มารีสามารถรักษาทหารที่บาดเจ็บด้วยรังสีเอกซ์ได้กว่า 100,000 คน

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง มารีได้กลับมาทำงานอีกครั้ง แต่จากการค้นคว้าเรเดียมมาหลายปี ทำให้เธอได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีโดยไขกระดูกของเธอถูกทำลายและเสียชีวิตในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1934

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม