"ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือ และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด"
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

นิโคลัส โคเปอร์นิคัส(Nicolaus Copernicus)

นิโคลัส โคเปอร์นิคัส(Nicolaus Copernicus)นิโคลัส โคเปอร์นิคัส

นิโคลัส โคเปอร์นิคัส(Nicolaus Copernicus)เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 ที่เมืองโตรัน ประเทศโปแลนด์ เป็นบุตรของนิโคลัส โคฟเปอร์นิค และบาร์บารา แวคเซนโรด ทั้งคู่เป็นสมาชิกของสมาคม Leading Families แห่งเมืองโตรัน บิดาของโคเปอร์นิคัสมีอาชีพเป็นพ่อค้าและมีฐานะร่ำรวย เมื่อโคเปอร์นิคัสอายุได้ 10 ปีบิดาก็เสียชีวิต เขาจึงต้องอยู่ในความอุปการะของลุง ซึ่งเป็นพระในตำแหน่งบิชอปแห่งเออร์มแลนด์ ชื่อว่า ลูคัส แวคเซนโรด(Lucas Waczenrode)

ลุงของเขาเป็นผู้มีความรู้สูงและถือว่าเป็นอาจารย์คนแรกของโคเปอร์นิคัส ตอนแรกเขาอยากจะเป็นอาจารย์สอนศาสนาเพราะคิดที่จะดำเนินตามรอยของลุง แต่ต่อมาเขากลับสนใจในวิชาการแพทย์ ดังนั้นเมื่อเขาอายุได้ 18 ปีจึงได้เข้าเรียนวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่คราโคว์(Cracow) ชีวิตทางการศึกษาของโคเปอร์นิคัสค่อนข้างที่จะหลากหลายและแตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเริ่มจากเรียนวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่คราโคว์ ไม่นานก็ไปเรียนวิชากฎหมายต่อที่เมืองโบโลนญา(Bologna) ต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปาดัว(University of Padua) แต่กลับเป็นว่าเขาจบปริญญาเอกวิชาทางกฎหมายในปี ค.ศ. 1503 จากมหาวิทยาลัยเฟอร์รารา แต่ลุงของเขาก็อยากให้เขาเป็นแพทย์เพื่อมาช่วยรักษาโรครับใช้ทางวัด โคเปอร์นิคัสจึงตัดสินใจกลับไปเรียนต่อแพทย์ที่มหาวิทยาลับปาดัวในขณะที่เขามีอายุได้ 30 ปี ในระหว่างที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์ที่เขาชอบอีกด้วย เนื่องจากวิชาดาราศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของวิชาแพทย์ โคเปอร์นิคัสเรียนจบแพทย์ในปี ค.ศ. 1506 และเดินทางกลับบ้านในปีเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1512 ลุงของเขาได้เสียชีวิตลง เขาจึงเดินทางกลับไปอยู่ที่เมืองฟรอนบูร์ก(Frauenburg) ประเทศอิตาลี เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับดาราศาสตร์อย่างจริงจัง ส่วนวิชาแพทย์ที่เขาเล่าเรียนมาก็ไม่ละทิ้งให้เสียประโยชน์ เขายังช่วยรักษาผู้ป่วยที่ยากจนในเมืองโดยไม่คิดค่ารักษาพยาบาล

ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์

การศึกษาด้านดาราศาสตร์ในระยะแรกของโคเปอร์นิคัสนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการนำทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องศูนย์กลางของสุริยะจักรวาลของนักปราชญ์ในอดีตมาศึกษา ไม่ว่าจะเป็นอริสตาร์คัส(Aristarchus) ที่กล่าวว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล ทฤษฎีของนักปราชญ์ชื่อปโตเลมี(Claudius Ptolemaeus - Ptolemy)ที่กล่าวว่าโลกเป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล ทฤษฎีของอริสโตเติลที่กล่าวว่าโลกอยู่กับที่ ส่วนดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก และทฤษฎีของพวกปิทากอรัสที่ว่า โลก ดวงอาทิตย์ และดวงดาวต่างๆ โคจรรอบดวงไฟดวงใหญ่ แม้เขาจะศึกษาทฤษฎีในอดีตมากมายแต่ทฤษฎีเดียวที่เขาเชื่อและน่าจะเป็นไปได้มีเพียงทฤษฎีของอริสตาร์คัส นักดาราศาสตร์แห่งเมืองซามอส(Samos) เขาจึงเริ่มทำการค้นคว้าและหาข้อพิสูจน์ทฤษฎีเหล่านี้ แต่เนื่องจากในสมัยนั้นขาดแคลนอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ โคเปอร์นิคัสจึงใช้วิธีเจาะช่องบนฝาผนัง เพื่อให้แสงสว่างผ่านเข้ามา แล้วเฝ้าสังเกตการเดินทางของโลกผ่านทางช่องนี้เอง ซึ่งเขาพบว่าแสงสว่างจะเดินทางผ่านช่องหนึ่งๆ ในทุกๆ 24 ชั่วโมง ซึ่งหมายถึงการที่โลกหมุนรอบตัวเอง นอกจากนี้เขาได้กำหนดเส้นเมอร์ริเดียนเพื่อใช้เป็นหลักการคำนวณทางดาราศาสตร์อีกด้วย ในที่สุดเขาก็สามารถสรุปหาข้อเท็จจริงได้ว่าทฤษฎีของอริสตาร์คัสที่เขาเชื่อถือนั้นถูกต้องที่สุด คือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล โลกและดาวเคราะห์อื่นๆ ต้องหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่เขาไม่ได้เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออกไป เพราะเกรงกลัวต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเขา เนื่องจากไปขัดกับความเชื่อในทฤษฎีของอริสโตเติลที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล

ในปี ค.ศ. 1953 นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ จอร์จ โจอคิม ราติคัส(George Joachim Rhäticus) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวิทเทนเบิร์ก เยอรมนี(University of Wittenberg Germany) ได้เดินทางมาหาโคเปอร์นิคัสและทำการค้นคว้าร่วมกันเป็นเวลานานถึง 2 ปี จอร์จผู้นี้เองที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้โคเปอร์นิคัสเผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลที่เขาค้นพบให้กับสาธารณชนได้รับรู้ จอร์จได้พยายามขอร้องโคเปอร์นิคัสให้เปิดเผยผลงานเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นการพัฒนาด้านดาราศาสตร์ไปอีกก้าวหนึ่ง ในที่สุดโคเปอร์นิคัสก็ยอมทำตามที่จอร์จขอร้อง จอร์จจึงได้ส่งผลงานของโคเปอร์นิคัสไปให้เพื่อนเขาที่อยู่เมืองนูเรมเบิร์ก(Nuremburg) ในประเทศเยอรมนีตีพิมพ์ แต่เพื่อนของจอร์จก็ไม่ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ จนกระทั้งในปี ค.ศ. 1543 ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสียชีวิตเพียงเล็กน้อย อังเดรียส์ โอเซียนเดอร์(Andreas Osiander) จึงทำการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของเขาออกมาในชื่อว่า การปฏิวัติทางโคจรแห่งดาวบนฟากฟ้า(De Revolutionibus Orbrium Codestium) มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า On the Revolutions of the Heavenly Bodies หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า Revolutions มีทั้งหมด 6 เล่มด้วยกัน หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลที่โคเปอร์นิคัสเป็นผู้ค้นพบ โดยสามารถสรุปเป็นทฤษฎีได้ทั้งหมด 3 ข้อ คือ

โคเปอร์นิคัสไม่ได้มีความรู้เฉพาะด้านดาราศาสตร์และการแพทย์เท่านั้น เขายังเป็นนักเศรษฐศาสตร์และรัฐบุรุษคนสำคัญของประเทศโปแลนด์ โคเปอร์นิคัสได้เสนอให้ทุกรัฐใช้ระบบเงินตราเดียวกันเพื่อแก้ปัญหาการเงินของประเทศ ซึ่งต่อมานิวตันได้นำเอาไปใช้ในประเทศอังกฤษซึ่งได้ผลดีมาก จึงทำให้ชื่อเสียงของโคเปอร์นิคัสพลอยโด่งดังไปด้วย

โคเปอร์นิคัสเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543 ที่เมืองฟรอนบูร์ก ประเทศโปแลนด์ แม้ว่าเขาจะจากไปแล้วแต่ชื่อเสียงและความสามารถของเขาก็ยังเป็นที่ยกย่องของนักดาราศาสตร์รุ่นใหม่ ถือว่าเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแนวคิดของมนุษย์ที่งมงายและยึดถือกันมาอย่างยาวนาน

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม