"สัจจวาจา นั้นเป็นรากฐานของการทำงาน หรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งามที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จ "สัจ" เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ "วาจา" เป็นคำพูดออกมา แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น"
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มารู้จักและช่วยเด็กสมาธิสั้นกันเถอะ ตอนที่ 1

โรคสมาธิสั้นคืออะไร

โรคสมาธิสั้น(Attention Deficit Hyperactivity Disorder:ADHD) คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก(ก่อนอายุ 7 ขวบ) จากความผิดปกติของสมองซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ประกอบด้วย

เด็กบางคนอาจจะมีอาการซนและอาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม เป็นอาการเด่น ซึ่งมักพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย แต่เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นบางคนก็อาจจะไม่ซน แต่มีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก ซึ่งมักพบได้ทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย

ทำไมในปัจจุบันถึงพบเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นกันเยอะ

จริงๆแล้วมีการค้นพบโรคนี้มานานกว่าร้อยปีแล้ว แต่เมื่อก่อนยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในกลุ่มครูและผู้ปกครอง เกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยก็ไม่แน่นอน ในปัจจุบันครูและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ดีขึ้น ประกอบกับแพทย์เริ่มมีการกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยแน่นอนและชัดเจนมากขึ้น ทำให้เด็กที่มีอาการเข้าข่ายโรคสมาธิสั้นถูกค้นพบและได้รับการวินิจฉัยมากขึ้น จึงทำให้ดูเหมือนเป็นการแพร่ระบาดหรือเป็นแฟชั่นของสังคม สภาพสิ่งแวดล้อม สังคม ครอบครัว การเลี้ยงดู และความคาดหวังจากพ่อแม่ยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพในอดีตก็มีอิทธิพลต่อจำนวนเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น

มีเด็กกี่เปอร์เซ็นต์ที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นพบได้ทุกประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยพบว่า ประมาณ 5% ของเด็กในวัยเรียนป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น หมายความว่า ห้องเรียนห้องหนึ่งถ้ามีนักเรียนอยู่ประมาณ 50 คน จะมีเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ในห้องเรียนประมาณ 2-3 คน

จะสังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่

อาการที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจมีโรคสมาธิสั้น ได้แก่:

1. อาการขาดสมาธิ(Attention Deficit) เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้ความคิด เหม่อลอยบ่อยๆ ทำงานไม่เสร็จ ผลงานมักจะไม่เรียบร้อย ขาดความรอบคอบ ขี้ลืม ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ มีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลาพูด เวลาบอกให้เด็กทำงานอะไรเด็กมักจะลืมทำ หรือทำครึ่งๆ กลางๆ อาการขาดสมาธินี้มักจะมีต่อเนื่อง ติดตัวจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่

2. อาการซน(Hyperactivity) เด็กจะมีลักษณะซน นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดินหรือขยับตัวไปมา เล่นเสียงดัง ชอบปีนป่ายหรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย มักประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซนและความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด ชอบแกล้งหรือแหย่เด็กอื่น

3. อาการหุนหันพลันแล่น(Impulsivity) เด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน อารมณ์หุนหันพลันแล่น ทำอะไรไปโดยไม่คิดก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมา ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองรถดีๆ ซุ่มซ่าม ทำข้าวของแตกหักเสียหาย เวลาต้องการอะไรก็จะต้องให้ได้ทันที รอคอยอะไรไม่ได้ เวลาอยู่ในห้องเรียนมักจะพูดโพล่งออกมาโดยไม่ขออนุญาตก่อน มักตอบคำถามโดยที่ฟังคำถามยังไม่ทันจบ ชอบพูดแทรกเวลาที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ หรือกระโดดเข้าร่วมวงเล่นกับเด็กคนอื่นโดยไม่ขอก่อน

แพทย์ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น

เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นที่แพทย์ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นและประกาศใช้โดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน(DSM-IV) โดยแบ่งกลุ่มอาการออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่

ก. อาการขาดสมาธิ(Attention Deficit) โดยเด็กจะมีอาการต่อไปนี้

ข. อาการซน อยู่ไม่นิ่ง(Hyperactivity) และอาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม (Impulsivity) โดยเด็กจะมีอาการต่อไปนี้

หากเด็กคนใดมีลักษณะอาการใน ข้อ ก หรือ ข้อ ข รวมกันมากกว่า 6 อาการขึ้นไป เด็กคนนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น

มารู้จักและช่วยเด็กสมาธิสั้นกันเถอะ ตอนที่ 2

 

ความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 ข้อแนะนำสำหรับขาแรงก่อนลงแข่งขันวิ่งระยะไกล

7 ข้อแนะนำเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งระยะไกล เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าแข่งขัน

อริสโตเติล

นักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่

นายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการศึกษาระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายว่าทำงานอย่างไร

ภาวะ "คลอดก่อนกำหนด"

เนื่องจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจะทำให้ร่างกายของเด็กที่คลอดออกมายังไม่พร้อมต่อการเผชิญสภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

เมื่อถูกงูกัด ควรตั้งสติให้ดีและปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้พิษส่งผลกระทบกับผูถูกกัดน้อยที่สุด และสามารถนำส่งแพทย์ได้ทัน

ทำอย่างไร...ห่างไกลสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากลักษณะการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราว่าจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงควรรู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม